คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ แถลงผลทดลองวัคซีน

News

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ชาวเน็ตต่างให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก สำหรับสถานการณ์ c o v i d-19 ที่ในประเทศไทยยังคงได้รบผลกระทบทุกหน่วยงาน ทำให้ทางแพทย์พยายามเร่งศึกษาเพื่อคิดค้นวัคซีนมาเพื่อป้องกันโรคนี้ ซึ่ง

ก่อนหน้านี้ จุฬาฯได้คาดคะเนว่ากลางปี 64 ได้ใช้วัคซีน โ ค วิ ด – 19 ซึ่งประเทศไทยเล็งทดลองคนระยะ 3 ข้ามประเทศใน 6 ประเทศ หลังเมืองไทยสถานการณ์โรค โ ค วิ ด -19 เริ่มสงบ แต่ทว่าหากต่างประเทศทำเสร็จก่อน ไทยอาจไม่ต้องทดลองระยะ 3 ขอ อย.อนุมัติใช้ได้เลย เหตุมีเงื่อนไขอยู่ในภาวะฉุกเฉิน

ล่าสุด ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้โพสต์แจ้งข่าวดีลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ความว่า “ข่าวดีครับ!! หลังทดสอบวัคซีนเข็มที่สอง สร้างภูมิคุ้มกันต่อ โ ค วิ ด – 19 ได้ระดับสูง เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ เปิดรับอาสาสมัคร เดือน ส.ค. – ก.ย.นี้ ก่อนทดสอบเข็มแรก เดือน ต.ค.นี้

ผมได้รับรายงานจากศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ว่าผลการทดสอบวัคซีน โ ค วิ ด -19 ของประเทศไทยโดยใช้สารพันธุกรรมของเชื้อ “ชนิด mRNA” ในลิง หลังจากเข็มที่สอง ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

พบว่าสามารถวัคซีนได้ในระดับสูงเป็นที่น่าพอใจ และลิงทุกตัวมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน โดยหลังจากที่ฉีดวัคซีนเข็มที่สองไปเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ไปแล้วสองสัปดาห์ นักวิจัยได้เจาะ เ ลื อ ดม าทำการทดสอบการสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีชนิดที่ยับยั้ง เ ชื้ อ หรือ Neutralizing antibody นั้น ถือเป็นข่าวดีมากที่พบว่าลิงที่ได้รับวัคซีนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ดังนั้นจึงได้ตกลงเดินหน้าต่อไปตามแผนที่จะเริ่มทดสอบในมนุษย์ในเดือน ต.ค.นี้

สำหรับการดำเนินการต่อไปนั้น จะดำเนินการคู่ขนานไปพร้อมกันเพื่อให้ได้วัคซีนอย่างรวดเร็ว โดยการทดสอบในมนุษย์ ซึ่งจะเริ่มสั่งการผลิตวัคซีนในสัปดาห์หน้าเพื่อจะใช้ในการทดสอบในมนุษย์ โดยจะเริ่มรับอาสาสมัครในเดือน ส.ค. –ก.ย. และจะฉีดเข็มแรกในมนุษย์ในเดือน ต.ค.นี้ การทดสอบนั้นจะทำทั้งหมด 3 ระยะ รวมทั้งจะเตรียมการผลิตให้เพียงพอและเตรียมขึ้นทะเบียนวัคซีน โดยประสานกับผู้ผลิตวัคซีนทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อให้มีความพร้อมที่จะผลิตให้พร้อมใช้ รวมทั้งร่วมมือถ่ายทอดเทคโนโลยีกับต่างประเทศด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องวัคซีนอย่างมากและได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ท่านได้มอบนโยบายเพื่อให้คนไทยสามารถมีวัคซีนอย่างรวดเร็วเป็นลำดับแรกๆ เมื่อสามารถพัฒนาวัคซีนได้สำเร็จ โดยมอบให้ อว. และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันดำเนินงานในเชิงรุก ทั้งโดยการวิจัยและพัฒนาในประเทศ และร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งเตรียมการผลิตให้ทันท่วงทีและเพียงพอ ในขณะนี้ ยังได้เจรจาหารือกับต่างประเทศในการร่วมวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีและเตรียมการผลิตไว้ด้วยแล้วครับ”

โดย ที่ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโ ค วิ ด -19ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “CU-Cov19”

ทั้งนี้ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโ ค วิ ด -19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬา ร่วมกันแถลงข่าว “จุฬาฯ พัฒนาวัคซีนโ ค วิ ด -19 หลังพบในลิงได้ผลดี เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ (จิตอาสา)” ความคืบหน้าการพัฒนา และผลการทดสอบวัคซีนโ ค วิ ด -19ในลิงเข็มที่สอง เตรียมพร้อมเดินหน้าทดสอบในมนุษย์ตามแผนต่อไป

“ล่าสุด ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโ ค วิ ด -19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า CU-Cov19 ได้เผยข่าวดี ผลการทดสอบวัคซีนโ ค วิ ด -19 ในลิงเข็มที่สอง ลิงสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง มีสุขภาพดี เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ตามแผน” ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าว

ขณะที่ ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า ผลการตรวจ เลื อ ด ลิงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน CU-Cov19 กระตุ้นเข็มที่สอง ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า ลิงที่ได้รับวัคซีนทุกตัวมีระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น โดยมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงมากในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูง นอกจากนี้ยังพบว่าลิงทุกตัวมีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน

“จากผลการทดสอบนี้ ศูนย์วิจัยวัคซีนฯ จะเริ่มสั่งผลิตวัคซีนเพื่อให้พร้อมสำหรับการทดสอบในมนุษย์ที่เป็นจิตอาสาตามแผน ประมาณเดือน ต.ค.-ธ.ค. นี้ ต่อไป แต่ต้องรอ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุมัติการทดสอบในมนุษย์ก่อน หากได้รับการรับรอง น่าจะเปิดรับจิตอาสาได้ภายในกลางเดือน ก.ย.นี้” ศ.นพ.เกียรติ เสริม